ราชาหนู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานของราชาหนูที่ยังมีชีวิตอันเชื่อถือได้
ตัวอย่าง
ตามพิพิธภัณฑสถานบางแห่งจะมีซากของราชาหนูซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้หรือกลายเป็นมัมมี่ตั้งแสดงต่อสาธารณะ ราชาหนูกลุ่มใหญ่ที่สุดซึ่งมีการตั้งแสดงนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน Mauritianum เมืองอัลเตนบูร์ก รัฐทูริงเง่น ซึ่งเป็นซากที่แห้งเป็นมัมมี่ของหนู 32 ตัวด้วยกัน ราชาหนูกลุ่มนี้ถูกพบในเตาผิงของคนสีข้าวที่บุคไฮม์เมื่อปีพ.ศ. 2371ที่พิพิธภัณโอทาโกในเมืองดูเนดิน ประเทศนิวซีแลนด์ มีราชาหนูซึ่งพบในพ.ศ. 2473ไว้ ราชาหนูกลุ่มนี้เป็นหนูดำที่ยังโตไม่เต็มที่ซึ่งส่วนหางถูกขนม้าพันไว้ด้วยกัน[1]
ประมาณการว่ารายงานการพบราชาหนูนั้นมีน้อยลงเมื่อหนูสีน้ำตาลได้เข้าแพร่พันธุ์แทนหนูดำ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในปัจจุบันมีรายงานการพบราชาหนูเพียงน้อยครั้ง โดยครั้งล่าสุดนั้นมีชาวนาพบในประเทศเอสโตเนียเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2548[2]
ผู้ศึกษาเรื่องสัตว์ลึกลับ เอ็ม. ชไนเดอร์ ได้เผยแพร่ภาพเอ็กซ์เรย์ของราชาหนูซึ่งชาวนาพบในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อพ.ศ. 2506 [3] ซึ่งภาพนี้ได้แสดงให้เห็นพังผืดที่เกิดขึ้นบนหางของหนู ทำให้เชื่อได้ว่าหนูในกลุ่มราชาหนูนั้นยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามปกติระยะ หนึ่ง[3]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น